สึนามิจังหวัดพังงา


สึนามิจังหวัดพังงา
จังหวัดพังงา
ตัวอย่างภาพข้อมูลจากดาวเทียม Ikonos อธิบายลักษณะทางกายภาพในเบื้องต้นของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์ (Tsunamis) ก่อนและหลังเกิดเหตุการณ์
The samples of Ikonos satellite images showed the comparative physical and geological features of affected areas in pre and post tsunami disaster
ภูมิศาสตร์ก่อน-หลังสึนามิ
1. บริเวณแหลมปะการัง, เขาหลัก จ. พังงา
(Pakarang Cape, Kao Lak Phangnga Province)
ภาพซ้าย: เป็นภาพที่ถ่ายเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547
Left: Satellite image acquired on 11 February 2004


ภาพก่อนเกิดเหตุการณ์ 
Satellite Image in pre-tsunami disaster
- ในบริเวณนี้ยังเต็มไปด้วยความสมบูรณ์ของพืชพรรณต่างๆ (สีเขียว)
- รูปร่างของแหลมปะการัง (ในกรอบสีแดง)
- แนวหาดทราย (ในกรอบสีน้ำเงิน)
- ท้องทะเลรอบแหลมปะการัง จะมีสีเหลืองอ่อนผสมฟ้าอ่อน ซึ่งแสดงถึงการสะท้อนลักษณะของน้ำทะเลผสมกับสิ่งอื่น ที่อาจจะเป็นแนวปะการัง แนวหิน และตะกอนต่างๆที่จะสะสมตัวให้บริเวณแหลมงอกขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่อ่อนไหวง่ายต่อการสลายตัว 
ภาพขวา: เป็นภาพที่ถ่ายเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2547
Right: Satellite image acquired on 29 Decembar 2004
ภาพหลังเกิดเหตุการณ์ 3 วัน
Satellite Image in post-tsunami disaster

- บริเวณพื้นที่สีเขียวที่แสดงความสมบูรณ์ของพืชพรรณในรูปบน เมื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงหลังเกิดเหตุการณ์จะเห็นว่าถูกแทนที่ด้วยโคลนตะกอน (สีน้ำตาล)
- รูปร่างของแหลมปะการัง (ในกรอบสีแดง) จะเห็นว่าหลังเกิดเหตุการณ์บริเวณปลายสุดของแหลมไม่ปรากฏในภาพเลยซึ่งต้องรอผลจากการสำรวจภาคสนามว่าบริเวณนี้อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลในปัจจุบัน หรือพื้นที่เหนือน้ำทะเลส่วนใหญ่ถูกอิทธิพลของคลื่นยักษ์ทำให้สลายกลายเป็นตะกอนพัดพาเข้าสู่ฝั่ง
- แนวหาดทราย (ในกรอบสีน้ำเงิน) หายไป
- ท้องทะเลรอบแหลมปะการัง จะมีสีครามเข้ม
- Green area was changed into brown color in post tsunami disaster due to the piling of muddy sediment up on the vegetation.
- In post tsunami disaster, the point of Pakarang cape (the red box) could not be observed on the satellite image. The field survey will help us to prove that this point is located below or above Mean Sea Level (MSL). In case of the affected areas located above the MSL, it means the erosion is the main cause of this impact and such eroded sediment has flowed into the shoreline.
- Shoreline (dark blue box) was not visible on the satellite image
- The color of sea water surrounding the Pakarang Cape was changed to be indigo blue 
2. บริเวณ Blue village pakarang resort, แหลมปะการัง, เขาหลัก จ. พังงา
 (Blue village Pakarang Resort, Pakarang cape, Khao lak , Phangnga)
ภาพซ้าย: เป็นภาพที่ถ่ายเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547
Left: Satellite image acquired on 11 February 2004
ภาพก่อนเกิดเหตุการณ์
Satellite Image in pre-tsunami disaster
- ในบริเวณนี้ยังเต็มไปด้วยความสมบูรณ์ของพืชพรรณต่างๆ (สีเขียว)
- กลุ่มอาคารของของ Blue Village Pakarang Resort (ในกรอบสีน้ำเงิน)
- แนวหาดทราย (ในกรอบสีแดง)
- This area was fully covered by vegetation (green color)
- The cluster of building in Blue Village Pakarang Resort (dark blue box)
- Shoreline (red box) 
ภาพขวา: เป็นภาพที่ถ่ายเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2547
Right: Satellite image acquired on 29 December 2004
ภาพหลังเกิดเหตุการณ์ 3 วัน
Satellite Image in post-tsunami disaster
- กลุ่มอาคารของของ Blue Village Pakarang Resort (ในกรอบสีน้ำเงิน) ที่เป็นจุดสีส้มซึ่งพบว่าบางส่วนสูญหายไป
- แนวหาดทราย (ในกรอบสีแดง) หายไปหมด พร้อมๆกับร่องน้ำได้ถูกเปิดกว้างขึ้นมากกว่าเดิม
- In post tsunami disaster, green color was changed into brown color due to the piling of muddy sediment up on the vegetation.
- Some buildings of Blue Village Pakarang Resort (dark blue box) shown in orange point are disappeared
- Shoreline shown (red box) was totally disappeared while, the water channel was broadened
3. บริเวณ Sofitel Magic Lagoon Resort & Spa, เขาหลัก จ. พังงา
 (Sofitel Magic Lagoon Resort & Spa, Khao lak , Phangnga)
ภาพซ้าย: เป็นภาพที่ถ่ายเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547
Left: Satellite image acquired on 11 February 2004
ภาพก่อนเกิดเหตุการณ์
Satellite Image in pre-tsunami disaster
- ในบริเวณนี้ยังเต็มไปด้วยความสมบูรณ์ของพืชพรรณต่างๆ (สีเขียว)
- แนวหาดทราย (ในกรอบสีน้ำเงิน)
- ตลอดเส้นทางน้ำยังเต็มไปด้วยพืชพรรณปกคลุมทั้งสองฝั่ง
- บริเวณ Sofitel Magic Lagoon Resort & Spa (ในกรอบสีแดง) ที่ยังเห็นสระน้ำในโครงการมีสีน้ำเงินชัดเจน
- This area was fully covered by vegetation (green color)
- Shoreline (dark blue box)
- Two sides of water way were fully covered by vegetation
- The swimming pool in Sofitel Magic Lagoon Resort & Spa (red box) was clearly observed in dark blue color 
ภาพขวา: เป็นภาพที่ถ่ายเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2547
Right: Satellite image acquired on 29 December 2004
ภาพหลังเกิดเหตุการณ์ 3 วัน
Satellite Image in post-tsunami disaster
- แนวหาดทราย (ในกรอบสีน้ำเงิน) ที่พบว่าถูกกัดเซาะ และแนวชายฝั่งได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง รวมถึงแนวหาดทรายสูญหายไป
- พืชพรรณปกคลุมทั้งสองฝั่งตลอดเส้นทางน้ำสูญหายไปทำให้เห็นเส้นทางน้ำชัดเจนมากกว่าเดิม
- บริเวณ Sofitel Magic Lagoon Resort & Spa (ในกรอบสีแดง) ที่เห็นสระน้ำในโครงการมีสีขุ่นเปลี่ยนไป
- Green color was changed into brown color in post tsunami disaster due to the piling of muddy sediment up on the vegetation.
- The erosion of shoreline and vanished beach (dark blue box) were observed. At the same time, the coastal line was altered.
- The water in the swimming pool of Sofitel Magic Lagoon Resort & Spa (red box) became muddy

สภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาก่อน-หลังเหตุการณ์ธรณีพิบัติ สึนามิ

<><><><><><><> 
ภาพก่อนสึนามิ

ภาพหลังสึนามิ

ภาพก่อนสึนามิ
   

ภาพหลังสึนามิ
ปะการังที่อุดมสมบูรณ์ก่อนสึนามิที่ อท.สิมิลัน
ปะการังที่ถูกทำลายโดยคลื่นสึนามิ วันที่ 26 ธันวาคม 2547

ผลกระทบด้านการท่องเที่ยวหลังสึนามิ
                หมู่เกาะสิมิลัน ถือเป็นแหล่งดำน้ำลึกที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ซึ่งเมื่อมีคลื่นสึนามิเข้ามามีหลายคนเป็นห่วงว่าแนวปะการังบริเวณหมู่เกาะจะได้รับความเสียหายขนาดหนัก แต่จากการสำรวจและประเมินผลกระทบแนวปะการังในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน 38 จุด ตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค.47- 15 ม.ค.48 พบว่าในหมู่เกาะสิมิลันมีเพียง 7 จุดที่ได้รับผลกระทบมากกว่า 50 % ส่วนระดับปานกลางมี 13 จุด และได้รับผลกระทบน้อย หรือไม่ได้รับผลกระทบเลย 18 จุด
                  นักดำน้ำหรือนักท่องเที่ยวที่ใฝ่ฝันจะอยากสัมผัสโลกใต้ทะเล จึงยังสามารถจะเที่ยวชมความงามและสีสันของปะการังได้เช่นเดิม เพราะหลายจุดดำน้ำของสิมิลันจึงยังอยู่ในสภาพเดิม
ภาพผลกระทบด้านการท่องเที่ยวหลังสึนามิ ที่ อท.แห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน วันที่ 30 ธ.ค.47- 15 ม.ค.48


__________________________________________________________
ผลกระทบด้านการท่องเที่ยวหลังสึนามิ ที่ อท.แห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์


              “เกาะสุรินทร์ทะเลพังงา เสียหายแค่อ่าวช่องขาด   ในช่วงแรกๆ เป็นที่น่าห่วงว่าปะการังในบริเวณเกาะสุรินทร์จะได้รับความเสียหาย แต่หลังจากที่ได้ลงไปดำน้ำสำรวจทะเล ปรากฏว่าปะการังครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด 8 ตารางกิโลเมตรได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์กระแทกทำให้ปะการังแตกหัก และมีทรายจากบนฝั่งพัดมาทับปะการัง และถูกขยะทับได้รับความเสียหาย
                ซึ่งบริเวณที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือ อ่าวช่องขาด อ่าวแม่ยาย ส่วนในจุดอื่นๆ ได้รับความเสียหายเล็กน้อย และน้ำทะเลก็ยังสวยใสไม่เปลี่ยนไปแต่อย่างใด และขณะนี้ทางอุทยานฯ ยังไม่มีการประกาศให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชมได้ คงต้องใช้เวลาพักฟื้นและประกาศเปิดแหล่งท่องเที่ยวในบางจุดเท่านั้น


แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พัก จ.พังงา ที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดธรณีพิบัติภัย
บ้านคึกคัก (หาดนางทอง)
                สภาพทั่วไป สิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินเสียหายทั้งหมด ซากปรักหักพังกีดขวางเส้นทางสัญจร บริเวณนี้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และขณะนี้มีหน่วยงานต่างๆ เข้าไปเริ่มฟื้นฟู ปรับสภาพพื้นที่แล้วสถานการณ์ท่องเที่ยว ไม่สามารถให้บริการการท่องเที่ยวได้
 
เศรษฐกิจจังหวัดพังงาก่อนสึนามิ



เศรษฐกิจจังหวัดพังงาก่อนเหตุการณ์สึนามิ ส่วนใหญ่เน้นหนักไปในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ นับว่าเป็นเศรษฐกิจหลักของจังหวัดพังงาก็ว่าได้ ซึ่งได้สร้างรายได้นับปีละล้านล้านบาทเลยทีเดียว อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวส่วนมากจะเป็น โรงแรม รีสอร์ทและบ้านพักตากอากาศที่มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการเป็นประจำ
เศรษฐกิจจังหวัดพังงาหลังสึนามิ 
               ความเสียหายของอุตสาหกรรรมการท่องเที่ยว จังหวัดพังงานับเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ เนื่องจากได้รับความนิยมอย่างสูงจากนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติ สามารถทำรายได้จากการท่องเที่ยวรวมกันถึงปีละกว่า 1.5 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 25 ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด ซึ่งสูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ โดยที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม ประกอบกับหายนภัยครั้งนี้อุบัติขึ้นในช่วงคริสต์มาสและใกล้ปีใหม่ อันเป็นช่วงต้นของฤดูการท่องเที่ยว (High Season) ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมีนาคม ความประจวบเหมาะดังกล่าว จึงทำให้ความสูญเสียและผลกระทบที่เกิดกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว   
                           เศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการของจังหวัดพังงา เกิดการชะงักตัวลงอย่างสิ้นเชิง เพราะอยู่ในช่วงของการรื้อฟื้นสิ่งซากปรักหักพังของโรงแรม รีสอร์ทและบ้านพักตากอากาศ บางโรงแรมก็ฟื้นฟูได้เสร็จและเปิดทำการได้ตามปกติ บางโรงแรมปิดกิจการเพราะไม่มีงบประมาณในการฟื้นฟู เพราะสึนามิในวันที่ 26 ธันวาคมได้สร้างความเสียหายอันใหญ่หลวงให้กับเศรษฐกิจของจังหวัดพังงา และยังสร้างความทรงจำให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในประเทศไทย รวมทั้งได้กวาดทรัพย์สินเลินทองของคนไทยและชาวต่างประเทศไปมากมายเลยทีเดียวและยังมีคนไทยและชาวต่างประเทศตายจากเหตุการณ์สึนามิอีด้วย
                           เว็บไซต์จังหวัด:http://www.phangnga.go.th/index1.php/    
                           เว็บไซต์สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดพังงา : www.thai-tour.com/thai-tour/south/Pangnga/data/place_index.htm